วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 14

Friday, November 30 , 2018



The knowledge gained

          วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษามาส่งงาน Mind mapping และแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
กลุ่มของดิฉัน หน่วยช้าง
วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

จุดประสงค์
1. เด็กสามารถบอกประเภทของช้างได้
2. เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3. เด็กสามารถตอบคำถามได้

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
ด้านอารมณ์-จิตใจ
- การแสดงออกอย่างสนุกสนาน
ด้านสังคม
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ด้านสติปัญญา
- การแยกประเภทของช้าง 

ทักษะการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง "ช้าง" พร้อมทำท่าประกอบ


ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง
น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า
ช้างมันตัวโตไม่เบา
จมูกยาวยาวเรียกว่างวง
มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่างา
มีหู มีตา หางยาว

2. ครูสนทนาพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับประเภทของช้าง ช้างมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะยังไง เราจะแยกแยะประเภทของช้างได้อย่างไร พร้อมนำภาพประกอบมาให้ดู
3. ครูให้เด็กจับกลุ่ม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน 
4. ครูนำสื่อภาพประกอบช้างมา 12 ภาพ แจกให้เด็กแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 6 ภาพ จากนั้นให้เด็กๆแยกประเภทของช้าง พร้อมนับจำนวนช้างประเภทไหนมีมากกว่ากัน กลุ่มไหนเสร็จก่อนให้ชูมือขึ้นพร้อมพูดพร้อมกันว่า "เฮ้"
ขั้นสรุป
   ช้างมี 2 ประเภท ได้แก่ 1)ช้างเอเชีย 2)ช้างแอฟริกา







จม หรือ ลอย 


สรุปจากสื่อ จมหรือลอย (Learning Center)
      แนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นการเตรียมเด็กก่อนด้วยกิจกรรมจิตศึกษา การเตรียมร่างกาย เตรียมสมอง เตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจ-อารมณ์ 
      คุณครูได้ให้เด็กจับคู่แล้วเป่ายิงชุบใครชนะได้อยู่สีแดง ใครที่แพ้ได้อยู่สีเขียว จากนั้นครูให้เด็กแบ่งแถวเป็น 2 แถวตอนลึก คุณครูได้ให้แถวแรกออกมาดูสิ่งของที่อยู่บนโต๊ะมีอะไรบ้าง ? แล้วคุณครูจะให้เด็กๆวิ่งมาหยิบสิ่งของที่เด็กๆคิดว่าจะลอยน้ำ
      เริ่มจากการเคลื่อนไหวและจังหวะเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน ปัจจุบันชั้นอนุบาล 2 เรียนเรื่องหน่วยฝน จะมีการสนทนาฝนมาจากไหน แล้วถ้าเกิดฝนตกมากๆจะเกิดอะไรขึ้น เด็กๆก็จะตอบว่าน้ำจะท่วม จึงมาสูจน์การพิสูจน์ว่ามีอะไรลอยบ้าง ? 


Learning Log 13

Wednesday, November 21 , 2018



The knowledge gained

          วันนี้อาจารย์ได้แนะนำเว็บไซต์ทำคลิปวิดีโอให้แก่นักศึกษา www.Biteable.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับทำคลิปที่ง่ายและสามารถทำกันได้ทุกคน 


www.Biteable.com

ความรู้ที่ได้เรียนวันนี้
* ประสบการณ์ คือ การที่เด็กเคยลองทำ ได้ลองปฏิบัติมาแล้วนั้นถือเป็นประสบการณ์
* ตัวหลักสำคัญ คือ การให้เด็กมีประสบการณ์ - ด้วยการเล่น
                                                                      - การลงมือปฏิบัติ
* การปฏิบัติ คือ สิ่งที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า (ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น) 
* เหตุผลที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ เพราะสอดคล้องความซึมซับกับสมองของเด็ก เปรียบเทียบได้จาก กระดาษที่ซึมซับน้ำ เวลาที่น้ำโดนกระดาษน้ำจะกระจายตัวเพราะกระดาษถูกซึมซับ




     อาจารย์ได้ให้แก้ไข Mind mapping และแผนเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก กลุ่มของดิฉัน "กลุ่มช้าง" ได้ให้แก้ไขและปรับปรุง
Mind mapping - ประเภท
                         - ลักษณะ
                         - ที่อยู่อาศัย
                         - ประโยชน์
                         - ข้อพึงระวัง



Evaluation
Teacher Evaluation : วันนี้อาจารย์แอบดุนักศึกษาเบาๆ ^o^ แต่อาจารย์ก็ยังอารมณ์ขำขันดีค่ะ
Self-assessment : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ดีค่ะ
Learning Log 12

Wednesday, November 14 , 2018



The knowledge gained

          วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปจัดกิจกรรม "โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย" ที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ซอยเสือใหญ่



ภาพกิจกรรมที่แสนน่ารัก



กลุ่มของดิฉัน "ฐานเรือดำน้ำ"



พูดคุยกับเด็กๆ และร่วมกันร้องเพลงก่อนขั้นสอน




เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการทดลอง ตักน้ำจากกะละมังใสลงในแกลลอน



วางเรือดำน้ำลงบนพื้นผิวน้ำ


กดเรือดำน้ำลงไป แล้วสังเกตการทดลอง


พาเด็กๆตั้งขบวนรถไฟ เปลี่ยนฐานต่อไป


ฐานลูกโป่งพองตัว


ฐาน Shap bub bub bubble


ฐานภูเขาไฟระเบิด ตู้ม ตู้ม


กลุ่มปั้มขวดลิฟท์ทียน

วิดีโอของกลุ่มดิฉัน ชื่อฐาน เรือดำน้ำ



สรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมการทดลอง
ได้มีจิตอาสาพาน้องๆทำกิจกรรมทำให้เราได้มีประสบการณ์ตรงและได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ทำกิจกรรมทดลองกับเด็กจริง ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรม เด็กๆจะได้เรียนรู้โดยผ่านการเล่น การเล่นในที่นี้คือการที่เด็กได้ลงมือกระทำ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กได้เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
Evaluation
Teacher Evaluation : อาจารย์น่ารักค่ะ พานักศึกษาไปจิตอาสาทำกิจกรรมการทดลองแก่น้องๆและเลี้ยงส้มตำให้กับนักศึกษา
Self-assessment : ตั้งใจร่วมกิจกรรม
Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมการทดลองของตัวเอง

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 11

Thursday, November 11 , 2018


The knowledge gained

      วันนี้อาจารย์ได้ให้เรียนชดเชยและได้มอบมายงานให้นักศึกษาทำ Mind mapping เลือกหน่วยการเรียนรู้ที่เราจะทำ และเขียนแผนเสริมประสบการณ์ส่งอาทิตย์หน้า




Learning Log 10

Wednesday, November 7 , 2018



The knowledge gained

          วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเปิดคลิปกลุ่มโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในแต่ละกลุ่มและได้แสดงความเห็นพร้อมสิ่งที่ต้องปรับปรุงในแต่ละกลุ่ม


เพิ่มเติม
ก่อนสมมติฐาน : ถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตั้งสมมติฐาน
สมมติฐาน : เด็กเป็นคนตั้งสมมติฐาน


ภาพกิจกรรมในห้องเรียน

1. ฐาน Shape of bub bub bubble 





2. ฐาน "ภูเขาไฟระเบิดตู้ม ตู้ม" 




3. ฐาน "ลูกโป่งพองตัว"



4. ฐาน "เรือดำน้ำ" (กลุ่มของดิฉัน)


   

Evaluation
Teacher Evaluation อาจารย์ตั้งใจสอนและได้บอกสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุง
Self-assessment : ตั้งใจเรียนและจดค่ะ
Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียน

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning Log 9

Wednesday, October 24 , 2018


The knowledge gained

      วันนี้ฉันไม่ได้มาเรียนจึงสรุปมาจากของเพื่อน นางสาวพิมพ์สุดา จันทะภา อาจารย์ได้เปิดคลิปที่ได้ให้นักศึกษาที่ไม่ได้ตรวจครั้งที่แล้วมาเปิดดู อาจารย์ได้ให้คำแนะนำสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุง สรุปกิจกรรม และได้อธิบายให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับนักศึกษา


อ้างอิงรูปจากนางสาวพิมพ์สุดา จันทะภา 


Evaluation
Teacher Evaluation : -
Self-assessment : -
Evaluate friends : -

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning Log 8

Wednesday, October 17 , 2018


The knowledge gained




           วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานเป็นงานกลุ่มทำการทดลองวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย โดยเลือกกิจกรรมในกลุ่มของตนเองมาอย่างละ 1 กิจกรรม กลุ่มดิฉันเลือกกิจกรรม "เรือดำน้ำ" และอาจารย์ได้ให้กิจกรรมการทดลองของเราที่เราเลือกมานำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยที่เสือใหญ่ในวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 จากนั้นให้เพื่อนๆช่วยกันคิดและเขียนโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย

กลุ่มของดิฉันชื่อฐาน "เรือดำน้ำ"
วัตถุประสงค์
1.
2.
3.

วัสดุ-อุปกรณ์
1. ขวดน้ำ
2. น้ำเปล่า
3. สีผสมอาหาร
4. ขวดน้ำขนาดใหญ่ หรือ แกลลอน
5. เรือ (ทำจากกรวยกระดาษ)

ขั้นตอน
1. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ และจัดสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม “เรือดำน้ำ”
2. ครูแนะนำอุปกรณ์พร้อมถามเด็กๆว่าอุปกรณ์ที่อยู่บนโต๊ะมีอะไรบ้าง
3. ครูถามเด็กๆว่าอุปกรณ์ที่อยู่บนโต๊ะสามารถทำอะไรได้บ้าง และถามความรู้จากประสบการณ์เดิมเรื่องอากาศมีตัวตน
4. ขั้นกระบวนการ
    4.1.ครูตั้งสมมติฐานว่าเมื่อนำเรือดำน้ำวางบนผิวน้ำแล้วนำขวดพลาสติกที่ตัดก้นขวดคลอบจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
    4.2.สร้างเรือดำน้ำจากกรวยกระดาษ จากนั้นเติมน้ำเปล่าลงไปในกะละมังใสในอัตราส่วน 4 ส่วน แล้วให้เด็กๆเติมสีผสมอาหารลงในกะละมังใสแล้วคนให้เข้ากัน
    4.3.นำขวดพลาสติกที่ตัดก้นปิดฝาให้แน่นสนิทจุ่มลงไปในกะละมังใสที่เตรียมไว้แล้ว
    4.4.ค่อยๆเปิดฝาออก เมื่อน้ำเข้ามาแทนที่อากาศที่อยู่ในขวด สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
    4.5.ปิดฝาขวดให้สนิท ค่อยๆดึงขวดน้ำขึ้นมา โดยยังไม่ให้ขวดขึ้นพ้นจากผิวน้ำ
    4.6.ต่อมานำเรือดำน้ำที่ทำจากกรวยกระดาษวางลงบนผิวน้ำในกะละมังใส แล้วจึงนำขวดพลาสติกคลอบเรือ 
     4.7.กดขวดพลาสติกที่มีเรือลงไปในน้ำ ค่อยๆเปิดฝาออก น้ำจะค่อยๆมาแทนที่อากาศที่อยู่ในขวด จนเรือลอยขึ้นมา สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
     4.8.ปิดฝาให้สนิท ค่อยๆดึงขวดพลาสติกที่มีเรืออยู่ในนั้นขึ้นมาโดยไม่ให้ขวดขึ้นพ้นจากผิวน้ำ
     4.9.จากนั้นค่อยๆเปิดฝาขวดออกแล้วดึงขวดให้พ้นจากผิวน้ำ สังเกตได้ว่าเรือดำน้ำไม่เปียก
5. ขั้นสรุป
อากาศนั้นมีตัวตนและมีที่อยู่เมื่อเรากดขวดน้ำที่ปิดฝาสนิทลงไปอากาศจะมีที่อยู่ แต่เมื่อใดที่เราเปิดฝาขวดน้ำออกน้ำจะเข้ามาแทนที่อากาศ อากาศก็จะถูกถ่ายเทเพราะอากาศมีแรงดัน

วิธีการประเมิน
1. สังเกตจากพฤติกรรมขณะปฏิบัติการทดลอง

2. การสนทนาโดยการถามตอบ

     - ประโยชน์ของน้ำ
     
     - อากาศมีตัวตนหรือไม่

     - ในการทดลองอะรมาแทนที่อากาศ

3. บันทึกการวาดรูปก่อน - หลังทำกิจกรรม


Evaluation
Teacher Evaluation อาจารย์สอนดีและเข้าใจค่ะ 
Self-assessment : ตั้งใจทำงานและฟังที่อาจารย์สอนค่ะ
Evaluate friends : เพื่อนๆนำเสนองานได้ดี

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 7
 
Wednesday, October 10 , 2018


The knowledge gained


บ้านวิทยาศาสตร์น้อย

1. นางสาวทิพยวิมล นวลอ่อน (Miss Tipwimon Nuanon)


กิจกรรมทดลองฟองสบู่
สาระวิทยาศาสตร์
อากาศที่อยู๋ในฟองสบู่ดันผิวฟองสบู่ด้วยแรงดันเท่ากันทุกจุด ดังนั้นไม่ว่าอุปกรณ์สร้างฟองสบู่จะมีรูปร่างอย่างไร เมื่อฟองสบู่ถูกเป่าออกสู่อากาศแล้ว ฟองสบู่จะเป็นทรงกลม


2. นางสาวเพ็ญประภา บุญมา (Miss Penprapa Boonma)


กิจกรรมทดลองลูกโป่งพองโต
(เป่าลูกโป่งโดยเบกกิ้งโซดา)
สาระวิทยาศาสตร์
เบกกิ้งโซดาจะเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจนได้สารชนิดใหม่ที่เรียกว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

3. นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย (Miss Jeeranan Chaichay)


กิจกรรมทดลองแยกเกลือจากพริกไทย
สาระวิทยาศาสตร์
       เมื่อเกิดการเสียดสี อิเล็กตรอนจากผ้าขนสัตว์จะเคลื่อนที่ไปยังพื้นผิวของช้อนพลาสติก (เกิดการถ่ายเทประจุ) ช้อนพลาสติกจึงมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ และผ้าขนสัตว์มีสถานะทางไฟฟ้าเป็นบวกเพราะสูญเสียอิเล็กตรอน

4. นายปฏิภาณ จินดาดวง (Mr. Patipan Jindadung)


กิจกรรมภาพซ้ำไปมา

5. นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา (Miss Arunwadee Srijanda)


กิจกรรมทดลองระฆังดำน้ำ
 สาระวิทยาศาสตร์
        เมื่อนำขวดที่ปิดฝากดลงไปในน้ำ น้ำจะไม่สามารถไหลเข้าไปในขวดได้ เพราะขวดมีอากาศอยู่ภายใน และเมื่อเราเปิดฝาขวดที่ถูกกดลงไปในน้ำ อากาศจะผุดออกมา และดันน้ำเข้าไปแทนที่ในขวด


Evaluation
Teacher Evaluation : อาจารย์ปล่อยเร็วค่ะ 
Self-assessment : วันนี้ดิฉันเข้าเรียนสายประมาน5นาทีค่ะ
Evaluate friends : เพื่อนๆนำเสนองานได้ดีค่ะ