วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

Learning Log 5
 
Wednesday, September 19, 2018



The knowledge gained
          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแก้ไข Blog ของตนเองให้เรียบร้อย วิจัย/บทความ/สื่อการสอน ต้องใส่ลิ้งค์เว็บจริงของเว็บนั้นกำกับไว้ด้วย งานวิจัยจะต้องมี ดังนี้
1. ชื่อวิจัย 
2. ชื่อผู้วิจัย 
3. วัตถุประสงค์ 
          4. วิธีการดำเนิน 
          5. แผนการสอน 
          6. ข้อสรุปของวิจัย

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ประเด็นปัญหา (เด็กอยากรู้ อยากเห็นจึงเกิดข้อสงสัยเป็นประเด็นปัญหา)
           2. สมมติฐาน (คุณครูตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้เด็กตั้งสมมติฐาน)
           3. ทดลอง (เด็กเกิดทักษะ เช่น การสังเกตการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นต้น)
           4. สรุป (สรุปผลแล้วจึงตรวจสอบสมมติฐาน)
           5. อธิปรายผล (ตรวจสอบสมมติฐานแล้วจึงอภิปรายผล แล้วมีการนำเสนอ)

กิจกรรมแรก




รู้จักกับเหลี่ยมและมุม
    ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่จะมีรูปทรงเรขาคณิตประกอบอยู่ เช่น ฟุตบอลเป็นรูปทรงกลม หลังคาบ้านเป็นรูปสามเหลี่ยม รูปเรขาคณิตเหล่านี้จะประกอบด้วยมุมและเหลี่ยมที่ต่างกัน
กิจกรรม 
    เด็กรู้จักมุม จำนวนเหลี่ยมของเรขาคณิต ฝึกสังเกตสิ่งรอบตัวว่าเป็นเรขาคณิตชนิดใดบ้าง โดยมีวัสดุอุปกรณ์
วัสดุ-อุปกรณ์
1. กระดาษอ่อน หรือ แข็ง
2. ดินสอ
3. กรรไกร
4. กระเป๋าใบเล็ก หรือ ถุงทึบ
เริ่มต้นกิจกรรม
1. ครูและเด็กช่วยกันวาดรูปเรขาคณิตต่างๆลงบนกระดาษ โดยให้มุมทุกมุม ด้านทุกด้านเท่ากัน จากนั้นตัดออก
2. นำรูปเรขาคณิตใส่ลงในกระเป๋าใบเล็กหรือถุงทึบ ให้เด็กแต่ละคนสลับกันหยิบ โดยครูออกคำสั่งให้หยิบรูปสี่เหลี่ยม ครูพยายามไม่ให้เด็กเห็นด้านในแต่ใล้มือสัมผัส เพื่อนับจำนวนมุมของรูปเรขาคณิตนั้นๆ เมื่อหยิบออกมาแล้วครูตรวจสอบถูกต้องหรือไม่
3. จากนั้นให้เด็กนับจำนวนมุมภายในเรขาคณิต หาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนด้านและมุม
4. จากนั้นครูและเด็กๆช่วบกันหาสิ่งของในห้องเรียนที่มีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยม แล้วบันทึกว่าเจอรูปเรขาคณิตชนิดใดบ้าง จำนวนกี่รูป เพื่อดูว่าพบรูปเรขาคณิตชนิดใดมากที่สุดและน้อยที่สุด

กิจกรรมที่สอง

ฝาขวดน้ำเราสามารถประดิษฐ์เป็นของเล่น
เชิงวิทยาศาสตร์อะไรได้บ้าง ?



รถเคลื่อนที่โดยใช้ลูกโป่ง 

วัสดุ-อุปกรณ์ (Materials - Equipment)


1. ขวดน้ำพลาสติก (Plastic bottle)
2. ฝาขวด(Bottle cap)
3. หนังยางรัด (Plastic band)
4. กรรไกร (Scissors)
5. คัตเตอร์ (Cutter)
6. เชือก (Rope)
7. ลูกโป่ง (Balloon)

ขั้นตอนที่ 1 (Step 1)
นำฝาขวดน้ำมาเจาะรู แล้วจึงนำขวดน้ำมาเจาะรูกะขนาดให้พอดีเจาะรูทั้งสองข้างซ้ายและขวา

ขั้นตอนที่ 2 (Step 2)
    นำเชือกมาร้อยตรงรูที่เจาะฝาขวดน้ำ ร้อยผ่านรูขวดน้ำทั้งสองข้างจนเป็นล้อรถ ทำซ้ำทั้งหน้าและหลังแล้วมัดปม


ขั้นตอนที่ 3 (Step 3)
        เมื่อทำเสร็จแล้วจะได้เป็นภาพดังนี้ 


ขั้นตอนที่ 4 (Step 4)
จากนั้นนำหลอดมามัดด้วยหนังยางมัดกับลูกโป่ง


ขั้นตอนที่ 5 (Step 5)
   ขั้นตอนสุดท้ายเจาะรูตรงกลางท้ายก้นขวดน้ำและก้นขวดน้ำนำหลอดที่เราเตรียมจากขั้นตอนที่4ผ่านรูที่เราเจาะ จะได้ตามภาพดังนี้ เป็นอันเสร็จสมบูรณ์





Evaluation

Teacher Evaluation อาจารย์สอนและอธิบายได้ดีค่ะ
Self-assessment : วันนี้ฉันเข้าเรียนตรงเวลา และสามารถประดิษฐ์รถเคลื่อนที่ด้วยลูกโป่งเสร็จทันเวลา
Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

บทความ (The Article)

"โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ? เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันนักวิทยาศาตร์ 2556"

สรุปบทความ  (Article summary)
    สสวท.ได้จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กๆต่างสงสัยและร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า "โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?" โดยทางสสวท.ได้จัดกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรมด้วยกัน ดังนี้
1. กิจกรรมหวานเย็น
     เด็กๆต่างค้นพบว่าน้ำปกติและน้ำหวานเป็นของเหลวแต่เมื่อนำไปใช่น้ำแข็งที่ใส่เกลือที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำปกติและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
2. กิจกรรมความลับของดิน
    เด็กๆช่วยกันทดลองพิสูจน์ดินเป็นหินที่ผุพังสลายตัว ซากพืชซากสัตว์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาดแตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาคที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะค่อยๆ ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นดินเป็นชั้นๆ ส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำ ทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย
3. กิจกรรมถึงร้อนก็อร่อยได้
    ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและแสงสว่างของโลก พื้นผิวโลกที่มีลักษณะแตกต่างกันจะดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้ได้ต่างกัน ซึ่งจะพบจากการสัมผัสแผ่นกระเบื้องสีดำและสีขาว ที่วางไว้กลางแจ้ง เมื่อเด็ก ๆ ขึ้นไปเหยียบบนแผ่นกระเบื้องสีดำ จะรู้สึกร้อนกว่าเพราะสีดำดูดกลืนพลังงานความร้อนไว้มากกว่า จึงถ่ายโอนความร้อนมายังเท้าของเรามากกว่า นอกจากนี้ในชีวิตประจำวัน เรายังใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนได้อย่างมากมาย โดยในกิจกรรมนี้จะพบว่าความร้อนทำให้ช็อกโกเลตและมาร์ชแมลโลหลอมยึดติดกับขนมปังกรอบ
4. กิจกรรมมหัศจรรย์กังหันลม
    พลังงานจากลมเป็นพลังงานสะอาดจากธรรมชาติซึ่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย กิจกรรมนี้จะช่วยให้เข้าใจว่าพลังงานจากลมทำให้กังหันหมุนได้ ซึ่งสามารถที่จะใช้พลังงานจากการหมุนต่อยอดไปทำประโยชน์อื่น เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การฉุดระหัดวิดน้ำ การยกของ เป็นต้น
5. กิจกรรมว่าวเล่นลม
    อากาศมีแรงกระทำต่อวัตถุ จากสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในกิจกรรมที่รู้จักกันดีคือ การเล่นว่าว แรงกระทำของอากาศจะช่วยให้ว่าวลอยอยู่ในอากาศได้ และรูปร่างตลอดจนหางว่าวก็มีส่วนช่วยให้ว่าวสมดุลอยู่ในอากาศ
6. กิจกรรมโมบายเริงลม
    พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆ เกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็ก ๆ ทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแขวนในที่ที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่และเกิดเสียงที่ไพเราะ นอกจากนี้ในการทำโมบายจะเข้าใจหลักการสมดุลของแรงด้วย



วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

งานวิจัย (research)

วิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร (The Development of Basic Science Skills for Young Children Using Herbal Drink Activities)


ผู้วิจัย : นางสาววณิชชา สิทธิพล
มหาวิทยาลัย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปี พ.ศ. : 2556

ความสำคัญ/ความเป็นมา 
   การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กเกิดองค์ความรู้ การคิด การวางแผน การเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ามาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการสังเกต การสัมผัส การชิม การฟัง การดมกลิ่น การเปลี่ยนแปลงของอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การจำแนกและการวัด ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบรูณ์ต่อไป

วัตถุประสงค์ 
   1. เพื่อการศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
   2. เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและการจัดกิจกรรม

สมมติฐาน 
   เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

ตัวแปร 
   1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
   2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
        2.1 การสังเกต
        2.2 การจำแนก
        2.3 การวัด
        2.4 การสื่อความหมายข้อมูล

ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง 
    เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำป่างาม (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 15 คน จากการสุ่มนักเรียน

ระยะเวลาในการวิจัย
 
    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 50 นาที รวม 24 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์

เครื่องมือที่ใช้
    1. แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
    2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การดำเนินการ 
    1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
    2. ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง (Pretest) จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์
    3. ผู้วิจัยทำการทดลองการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์

โดยมีกิจกรรมดังนี้



4. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองจนครบ 8 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง (Posttest) ซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่สอบก่อนการ            ทดลอง จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์
5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐาน


สรุปผลวิจัย  
    การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาพรวมอยู่ในระดับดี 14.33 คะแนน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสังเกต 4.13 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการจำแนก 3.26 คะแนน ด้านการวัด 3.60 คะแนน และด้านการสื่อความหมายข้อมูล 3.33 คะแนน อยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและรายด้านมีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

Learning Log 4
   
Wednesday, August 29, 2018



The knowledge gained
   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Science Provision for Early Childhood)
: พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา มีการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือน การคว่ำ การคืบ การคลาน เหมือนขั้นบันได
- การนำไปประยุกต์ใช้
การเลือกจัดกิจกรรมประสบการณ์ที่เหมาะสมในแต่ละพัฒนาการ




* ความรู้เพิ่มเติม *
พัฒนาการทางสติปัญญา นักทฤษฎีได้แก่ เพียเจต์ (Piaget) ได้แบ่งพัฒนาการไว้ 4 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี สัมผัส จับ แตะต้องสิ่งของ หรือสิ่งเร้าภายนอก
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี ใช้ภาษา มีความคิดเป็นของตัวเอง ยังใช้เหตุผลไม่ได้
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) เริ่มจากอายุ 7-11 ปี
4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี 




อาจารย์ตรวจดูบล็อกนักศึกษาให้ปรับปรุงแก้ไข



ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะกระบวนการวิทยศาสตร์
: เด็กได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาได้

1. ความหมายทักษะการสังเกต
คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น ผิวกาย สัมผัสโดยตรงกับวัตถุ มีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลเป็นรายละเอียด

2. ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งโดยหาเกณฑ์
2.1 ความเหมือน เช่น รูปทรง
2.2 ความแตกต่าง เช่น เราใช้เกณฑ์ตั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ชนิดใดไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น สัตว์ปีก สัตว์น้ำ คัดออกไปจากเกณฑ์
2.3 ความสัมพันธ์ร่วม เช่น สิ่งของ 2 อย่างมีเหมือนกัน เช่น รถกับถนน รถเป็นพาหนะ ถนนเป็นสิ่งที่ต้องพึ่ง มีความสัมพันธ์ร่วมกัน

3. ความหมายทักษะการวัด (มีการใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์)

คือ การใช้เครื่องมือต่างๆวัดปริมาณของสิ่งที่เราต้องการโดยมีหน่วยการวัดกำกับ
3.1 รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
3.2 เลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
3.3 วิธีการที่เราจะวัด


4. ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
คือ การพูด การเขียน รูปภาพ ภาษาท่าทาง ความสามารถการรับรู้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน     
4.1 บรรยายลักษณะ คุณสมบัติของวัตถุ
4.2 บันทึการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ สมุดจดบันทึก
4.3 บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ไดเจากการกระทำ
4.4 จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

5. ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
คือ การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล อาศัยความรู้ ประสบการณ์
5.1 ลงข้อมูลสรุปสิ่งต่างๆ
5.2 ข้อสรุปความสัมพันธ์
5.3 การสังเกตความเปลี่ยนแปลง

6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
คือ การรู้จักเรียนรู้ 1มิติ 2มิติ 3มิติ ของทิศทาง
6.1 ชี้บ่งภาพ 2มิติ 3มิติ
6.2 บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
6.3 บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
6.4 บอกตำแหน่งซ้าย ขวา

7. ความหมายทักษะการคำนวณ
คือ ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ

องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์ 

1. สิ่งที่กำหนดให้ 
    สังเกต / จำแนก / วัด / สื่อความหมาย / ลงความเห็น / หาความสัมพันธ์ / การคำนวณ
2. หลักการหรือกฎเกณฑ์ 
    เป็นข้อกำหนดสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้
3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
    เป็นการพิจารณาส่สนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ตามหาหลักเกณฑ์แล้วทำการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุป 


Evaluation

Teacher Evaluation อาจารย์น่ารัก สอนได้เข้าใจดีค่ะ มีพาวเวอร์พ้อยประกอบกับการสอน
Self-assessment : วันนี้ฉันเข้าเรียนสายประมาน 5 นาที ตั้งใจฟังและจดตามที่อาจารย์สอน
Evaluate friends : เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีค่ะ